โรคไต


ด.ช.ชนะศักดิ์ ตันตระกูล (น้องภูมิ) อายุ 5 ปี อาการป่วย เป็นโรคไต ความดัน หน้าบวม อวัยวะบวม เคยรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่อาการไม่ดีขึ้น ดื่มยาน้ำสมุนไพร ฮั้วลักเซียม ทำให้น้องภูมิปัสสาวะได้ และอาการดีขึ้นมากตามลำดับ ทำให้น้องภูมิเหมือนได้ชีวิตใหม่อีกครั้ง



โรคไต หมายถึง โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของพยาธิสภาพของไตในการทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายคนเรา โรคไตมีหลายประเภทดังนี้

โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ
·         โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเก๊าท์
·         โรคไตอักเสบเนโฟรติก
·         โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)
·         โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
·         โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)

สาเหตุ
·         เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
·         เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
·         เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค) เป็นต้น
·         เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
·         เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิดทุกๆ ท่านก็อย่าลืมดูแลตัวเองด้วย
·         เกิดจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคเกาต์

อาการ
1.    อาการปัสสาวะผิดปกติ เนื่องจากไตและกระเพาะปัสสาวะทำงานสัมพันธ์กัน เมื่อไตเกิดผิดปกติจึงส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะผิดปกติไปด้วย อาการผิดปกติของปัสสาวะมีดั้งนี้ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก เจ็บ ต้องออกแรงแบ่ง ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะสะดุดกลางคัน ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ปัสสาวะเป็นฟองมาก ปัสสาวะเป็นเลือด
2.    อาการบวม ผู้ป่วยโรคไตส่วนมากมีอาการบวมตามที่ต่างๆ ของร่างกาย เช่น บวมรอบดวงตาและที่บริเวณใบหน้า บวมที่เท้า หากใช้นิ้วกดไปตรงบริเวณที่บวมแล้วมีรอยบุ๋มลงไปให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเป็นโรคไต
3.    อาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง เอว กระดูกและข้อ โดยจะมีลักษณะการปวดคือ รู้สึกปวดที่บั้นเอวหรือบริเวณชายโครงด้านหลังและมักปวดร้าวไปถึงท้องน้อย ขาอ่อน หัวหน่าว และที่อวัยวะเพศ
4.    ความดันโลหิตสูง เป็นอาการสำคัญที่บอกให้รู้ว่าคุณมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรัง ยิ่งผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงมานานและไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะที่สมดุล ยิ่งมีความเสี่ยงมากกว่าปกติโดยอาจจะเป็นโรคไตเรื้อรังและโรคหลอดเลือดแดงในไตตีบ

วิธีรักษา
อาจแบ่งได้เป็น 4 วิธีหลักๆ ด้วยกัน คือ
1.    การตรวจค้นหาและการวินิจฉัยโรคไตที่เหมาะสม การตรวจค้นหา หรือวินิจฉัยโรค ที่ถูกต้องได้ในระยะต้นๆ ของโรค ย่อมมีโอกาสได้รับผลการรักษาดีกว่าการเข้าวินิจฉัยล่าช้า
2.    การรักษาที่สาเหตุของโรคไต เช่น การรักษานิ่วไต การหยุดยาซึ่งเป็นพิษต่อไต การควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ การใช้ยาที่เหมาะสม กับโรคเนื้อไตอักเสบแต่ละชนิด เป็นต้น
3.    การรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของไต แม้แพทย์จะรักษาสาเหตุของโรคไตแล้วแต่ผู้ป่วยจำนวนมากอาจมีการทำงานของไตที่เสื่อมลงกว่าปกติ เพราะเนื้อไตบางส่วนถูกทำลายไปไตส่วนที่ดีซึ่งเหลืออยู่จะต้องทำงานหนักขึ้นทำให้ไตเสื่อมการทำงานมากขึ้นตามระยะเวลาและมักเกิดไตวายในที่สุด ดังนั้นการชะลอการเสื่อมของไต อันได้แก่ การควบคุมอาหารให้เหมาะ กับการทำงานของไตที่เหลืออยู่ การใช้ยาเพื่อช่วยปรับสารต่างๆ ที่เป็นพิษต่อไต การควบคุมความดันโลหิตให้ดี เป็นต้น
ยาที่มีผลชลอไตเสื่อมได้แก่ ยากลุ่ม ACEI Inhibitors(Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors) ซึ่งได้แก่ยา Enalapril Captopril Lisinopril และramipril
4.    การรักษาทดแทนการทำงานของไต (การล้างไตและการผ่าตัดปลูกถ่ายไต) เมื่อไตวายมากขึ้นจนเข้าระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยการล้างไตหรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
   
 ไตวาย (อังกฤษ: renal failure, kidney failure, renal insufficiency) เป็นภาวะซึ่งการทำงานของไตผิดปกติไปจนไม่สามารถกรองสารพิษและของเสียออกจากเลือดได้เพียงพอ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดเฉียบพลัน (ไตเสียหายเฉียบพลัน) และเรื้อรัง (ไตวายเรื้อรัง) ซึ่งเกิดจากโรคหรือภาวะอื่นๆ ได้หลายสาเหตุ
ไตที่วายจะมีอัตราการกรองผ่านโกลเมอรูลัสลดลง ตรวจเคมีในเลือดมักพบว่ามีระดับครีแอทินีนในซีรัม (serum creatinine) สูงขึ้น ปัญหาที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของไตได้แก่ความผิดปกติของปริมาณสารน้ำในร่างกาย กรดด่างไม่สมดุล ระดับโพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสเฟต ผิดปกติ เมื่อเป็นเรื้อรังทำให้เลือดจาง กระดูกหักแล้วหายช้า ในบางสาเหตุอาจทำให้มีปัสสาวะเป็นเลือดหรือมีโปรตีนปนในปัสสาวะได้ การเป็นโรคไตเรื้อรังส่งผลต่อโรคอื่นๆ เช่น โรคระบบหัวใจหลอดเลือด ได้อย่างมาก

ไตเสียหายเฉียบพลัน
ภาวะไตเสียหายเฉียบพลัน (อังกฤษ: acute kidney injury, AKI) หรือเดิมใช้ชื่อว่าภาวะไตวายเฉียบพลัน (อังกฤษ: acute renal failure, ARF) คือภาวะซึ่งร่างกายมีการสูญเสียการทำงานของไตอย่างเฉียบพลัน มีสาเหตุหลากหลายตั้งแต่ภาวะปริมาตรเลือดต่ำทุกแบบ การได้รับสารซึ่งเป็นอันตรายต่อไต การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ และสาเหตุอื่นๆ การวินิจฉัยภาวะไตเสียหายเฉียบพลันอาศัยลักษณะเฉพาะของผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การมีระดับของยูเรียไนโตรเจนในเลือดและครีแอทินีนขึ้นสูง หรือการตรวจพบว่าไตผลิตปัสสาวะออกมาได้น้อยกว่าปกติ ภาวะไตเสียหายเฉียบพลันสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น ภาวะเลือดเป็นกรดเหตุเมตะบอลิก ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ยูเรียคั่งในเลือด เสียสมดุลของปริมาณสารน้ำในร่างกาย และส่งผลต่อระบบอวัยวะอื่นๆ การให้การรักษาทำได้โดยให้การรักษาประคับประคอง เช่น การบำบัดทดแทนไต และการรักษาภาวะซึ่งเป็นสาเหตุ

อาการและอาการแสดง
อาการของภาวะไตเสียหายเฉียบพลันเป็นผลมาจากความผิดปกติของการทำงานของไตที่เกิดจากโรคซึ่งเป็นสาเหตุ การมียูเรียและสารซึ่งมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบต่างๆ คั่งในเลือด ทำให้เกิดอาการได้หลายอย่าง เช่น อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน  การมีโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้นมากอาจทำให้มีหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจเป็นมากจนเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้  สมดุลสารน้ำในร่างกายมักเสียไป แต่ไม่ค่อยพบเกิดเป็นความดันเลือดสูง
อาการปวดชายโครงอาจพบได้ในบางภาวะ เช่น การมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดไต หรือไตอักเสบ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดโดยผ่านการยืดของเยื่อหุ้มไต  หากไตเสียหายเฉียบพลันนั้นมีสาเหตุมาจากภาวะขาดน้ำ อาจมีอาการและอาการแสดงของภาวะขาดน้ำให้ตรวจพบได้ เช่น อาการกระหายน้ำ และอาการแสดงอื่นๆ เป็นต้น  การตรวจร่างกายอาจช่วยให้พบภาวะซึ่งอาจเป็นสาเหตุของไตเสียหายได้ เช่น ผื่นซึ่งอาจพบในเนื้อไตอักเสบบางชนิด หรือคลำได้กระเพาะปัสสาวะซึ่งอาจเป็นจากการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
นอกจากนี้การที่ไตไม่สามารถขับน้ำออกจากร่างกายได้ทำให้มีสารน้ำคั่งในร่างกาย คั่งในแขนขาทำให้แขนขาบวม คั่งในปอดทำให้น้ำท่วมปอด  หรืออาจคั่งในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ อาจเป็นมากจนเกิดภาวะหัวใจถูกบีบรัดได้

โรคไตเรื้อรัง คือภาวะซึ่งมีค่อยๆ มีการเสื่อมของการทำงานของไตเป็นเวลานาน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี อาการของการที่ไตทำงานเสื่อมลงนั้นเกือบทั้งหมดเป็นอาการซึ่งไม่มีความจำเพาะ อาจมีอาการเพียงความรู้สึกไม่สบายตัวหรือไม่รู้สึกอยากอาหารได้ ส่วนใหญ่การวินิจฉัยไตวายเรื้อรังจะพบจากการตรวจคัดกรองในผู้ที่มีความเสี่ยงของการเป็นโรคไต เช่น ผู้ป่วยความดันเลือดสูง เบาหวาน หรือผู้ที่มีญาติเป็นโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้ยังอาจตรวจพบเมื่อผู้ป่วยมีอาการจากภาวะแทรกซ้อนของโรคไต เช่น โรคของระบบหัวใจหลอดเลือด ซีด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น

ไตวายเฉียบพลันแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังอาจมีภาวะไตวายเฉียบพลันแทรกซ้อนขึ้นมาได้ เรียกว่า acute-on-chronic renal failure (AoCRF) ซึ่งภาวะไตวายเฉียบพลันที่เกิดขึ้นนี้อาจกลับคืนเป็นเหมือนเดิมได้หรือไม่ก็ได้ แนวทางการรักษาโดยหลักจึงเป็นไปในแนวทางเดียวกับการรักษาภาวะไตวายเฉียบพลัน นั่นคือฟื้นฟูการทำงานของไตของผู้ป่วยให้ใกล้เคียงกับระดับเดิม ซึ่งส่วนใหญ่ดูจากระดับซีรัมครีเอทินีน และเช่นเดียวกันกับไตวายเฉียบพลันทั่วไป ภาวะนี้อาจให้การวินิจฉัยได้ยาก หากผู้ป่วยขาดการรักษาเป็นเวลานาน และไม่มีผลเลือดเดิมให้เปรียบเทียบ


เห็ดหลินจือ รักษาโรคไต
คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์  วิจัยนำเห็ดหลินจือมารักษาไตเรื้อรัง
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยนำเห็ดหลินจือมารักษาไตเรื้อรังระบุเห็ดหลินช่วยฟื้นฟูการทำงานของไต ทางเลือกใหม่แทนกินยากดภูมิคุ้มกัน แพทย์จุฬาฯ ศึกษากลไกการเกิดภาวะไตวายในร่างกาย พร้อมสร้างทางเลือกใหม่รักษาโรคไตเรื้อรังด้วยสารสกัดเห็ดหลินจือ เผยผลทดสอบเบื้องต้นช่วยผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติ ระบุสรรพคุณสร้างสมดุลให้ระบบภูมิคุ้มกัน ลดอาการไตอักเสบ ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะแถมยังเพิ่มประสิทธิภาพระบบไหลเวียนโลหิต และเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของไต
รศ.พญ.ดร.นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ทีมวิจัยค้นพบวิธีรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ โดยเปลี่ยนให้รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือวันละ 750 – 1,000 มิลลิกรัม ควบคู่กับการให้ยาขยายหลอดเลือด พบว่า ช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของไตให้ดีขึ้น อีกทั้งภาวะเนื้อไตตายลดลงอย่างชัดเจน.
หลังจากทำวิจัยแล้วพบว่า สาเหตุมาจากสารพิษในเลือด สารอนุมูลอิสระ และการเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำให้สารซัยโตคายน์เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเซลล์บุผิวหลอดเลือด ทำให้ เกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือด เพิ่มมากขึ้น จนเกิดความดันภายในไตเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ ไตเกิดภาวะขาดเลือด เกิดเนื้อไตตายได้.
นักวิจัย กล่าว ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis จะมีอาการเนื้อตัวบวมอย่างเห็นได้ชัด และหากตรวจเลือด และปัสสาวะจะพบภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะมากกว่า 3.5 กรัมต่อวัน  ส่งผลให้โปรตีนในเลือดต่ำ ปริมาณการหมุนเวียนในเลือดไม่เพียงพอ เลือดในร่างกายพร่อง ข้นหนืด ก่อให้เกิดการอุดตัน และยังมีภาวะเผาผลาญไขมันผิดปกติ ไขมันในเลือดสูง ภาวะต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ไตมีการอักเสบ เสื่อม และถูกทำลายจนเข้าสู่ภาวะไตวายในท้ายที่สุด.
หลังจากเข้าใจถึงกลไกของสาเหตุโรคไตแล้ว รศ.พญ.ดร.นริสาจึงได้นำเอาสารสกัดจากเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) มาทดสอบกับผู้ป่วย เนื่องจากมีสรรพคุณในการช่วยฟื้นฟูระบบสมดุลของภูมิคุ้มกัน พร้อมทั้งยังได้รักษาร่วมกับการใช้ยาขยายหลอดเลือดด้วย.
สำหรับอาสาสมัครที่เข้ารับการรักษา เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการไข่ขาวรั่วในปัสสาวะต่อเนื่อง 5 – 10 ปี กำลังอยู่ในภาวะไตเสื่อมถอยลงอย่างช้าๆ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา กดภูมิคุ้มกัน หลังจากรักษาได้ราว 1 ปี พบว่าภาวะเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันเข้าสู่ระดับปกติ ผู้ป่วยมีการทำงานของไตดีขึ้น ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะลดลง และสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของไตให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้
“ปริมาณของสารสกัดจากเห็ดหลินจือที่มีคุณสมบัติในการรักษาได้นั้น จะอยู่ประมาณ 750 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยต้องใช้ร่วมกับยาขยายหลอดเลือด ซึ่งจะเข้าไปช่วยฟื้นฟูกลศาสตร์ไหลเวียนของไตให้ดีขึ้น เพราะเลือดจะไหลเข้าสู่ไตได้มากขึ้น ทำให้ความดันภายในไตลดลง”
นอกจากนี้การบริโภคสารสกัดเห็ดหลินจือในปริมาณดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือผลข้างเคียงใดๆ ด้วย เนื่องจากเห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่มีเพดานการบริโภคที่สูงมาก
รศ.พญ.ดร.นริสา ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตว่าผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และการดำเนินชีวิตโดยให้ความสำคัญเรื่อง อาหาร น้ำ อากาศ การออกกำลังกาย การกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณที่จำกัด ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้มากเพียงพอเพื่อไม่ให้ไตขาดเลือด ที่สำคัญคือ ควรงดสูบบุหรี่

สรรพคุณเห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคไตอักเสบ ไตวาย        
1.เห็ดหลินจือจะช่วยละลายใยแผลเป็นให้อ่อนตัว ไม่ให้ไปรัดเส้นเลือดที่เลี้ยงไตเพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงไตได้ จึงทำให้ไตทำงานได้ดีขึ้น
2.เห็ดหลินจือมีสารนิวคลีโอไชด์ มีคุณสมบัติละลายลิ่มเลือด ไม่ให้ลิ่มเลือดเกาะตัวง่ายจนทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
3.เห็ดหลินจือเป็นแอนติ ออกซิแดนต์สามารถขจัดอนุมูลอิสระได้
4.เห็ดหลินจือมีโปรตีน Lz-8 ที่ปรับระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานเป็นปกติ รวมทั้งมีสารเยอรมาเนียม และสารโพลีแซคคาไรด์ ที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอีกด้วย

วิธีที่ แพทย์แผนปัจจุบัน ใช้รักษาไตวาย  
ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการล้างไต ( Dialysis ) แต่การรักษาที่ดีที่สุด คือ การผ่าตัดปลูกเปลี่ยนไตจากคนที่บริจาคไตให้ แต่การปลูกเปลี่ยนไตมีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ มีผู้บริจาคไตน้อย มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังนับร้อย นับพันคน รอการบริจาคไตอยู่ ผู้ป่วยเหล่านี้จะอยู่ได้ด้วยการล้างไต ระหว่างที่รอการปลูกไต
การล้างไตปัจจุบันมี 2 วิธี
1.วิธีการล้างไตทางหน้าท้อง ( CAPD : Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis )  
วิธีนี้ใช้สายยางฝังไว้ในช่องท้องอย่างถาวร และใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้อง เพื่อล้างเอาของเสียในเลือดออก ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำยาวันละ 4 – 5 ครั้ง ทุกวัน วิธีนี้มีข้อดีที่ทำเองที่บ้านได้ แต่มีข้อเสียเกิดการติดเชื้อในช่องท้องสูงเมื่อทำไปนานๆ และมีการสูญเสียโปรตีนออกมาทางน้ำยามากในแต่ละวัน อาจเกิดภาวะขาดอาหารถ้ารับประทานอาหารไม่เพียงพอ
2.การฟอกเลือด ( Hemodialysis ) 
โดยการดูดเลือดจากผู้ป่วยไปล้างเอาน้ำ และของเสียออกโดยใช้ไตเทียม (เครื่องฟอกเลือด) เลือดที่ล้างแล้วจะไหลกลับเข้ามาในตัวผู้ป่วย วิธีนี้ใช้เวลาครั้งละประมาณ 4 ชั่วโมง เพื่อที่จะให้ได้ผลดีควรฟอกเลือดสัปดาห์ 2 – 3 ครั้ง
จะเลือกวิธีไหนขึ้นอยู่กับโรคของผู้ป่วย และความพอใจของผู้ป่วย แพทย์จะอธิบายให้ผู้ป่วยทราบทั้งข้อดี และข้อเสียของทั้ง 2 วิธี และแนะนำวิธีที่เหมาะสมให้ แต่ผู้ป่วยและญาติเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเอง ว่าจะล้างไตหรือไม่ แล้วเลือกล้างไตวิธีใด
อาหารที่ควรควบคุมสำหรับคนเป็นโรคไต
1.งดอาหารที่มีเกลือโซเดียมมาก อาหารที่มีรสเค็ม เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ผงชูรส เพราะไตไม่สามารถขับโซเดียมออกจากร่างกายได้ เมื่อเกลือในร่างกายมีมาก มันจะอุ้มน้ำเอาไว้มากเกินไป จนคนที่เป็นโรคไตมีอาการบวม
2.จำกัดโปรตีน แนะนำว่าในแต่ละวัน อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์น่าจะมีปริมาณวันละเท่ากับ 1 ฝ่ามือ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคไตเนฟโฟรติก มีการสูญเสียโปรตีนในปัสสาวะ ให้ใช้วิธีกินโปรตีนคุณภาพสูง เข้าไปทดแทน คือกินเฉพาะไข่ขาวในระหว่างที่ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ วิธีนี้จะดีกว่าการกินอาหารโปรตีนมากๆ เพื่อป้องกันการสูญเสียทางไต เอาไว้ก่อน แนะนำว่า ให้กินไข่ขาววันละ 4-6 ฟอง จะช่วยทดแทนโปรตีนที่สูญเสียไป กับปัสสาวะในแต่ละวัน หากไม่มีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะแล้วก็ให้งดการกินไข่ขาวไป
3.งดสารปนเปื้อนในอาหารเด็ดขาด เช่น สีผสมอาหาร กลิ่นสังเคราะห์ รสชาติสังเคราะห์ สารกันบูด กันเชื้อรา ฯลฯ เพราะสารเคมีเหล่านี้ล้วนเป็นภาระให้ไตต้องขับออกนอกร่างกาย

ลักษณะอาการ ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญยิ่งในร่างกายเพราะมีหน้าที่ฟอกโลหิตให้สะอาด ปรับสภาพระดับน้ำดีในร่างกายให้พอเหมาะกับสภาพร่างกาย และขจัดน้ำเสียออกจากร่างกายในรูปของปัสสาวะ รวมทั้งกระตุ้นต่อมใต้ผิวหนังให้ขับน้ำออกจากผิวหนัง เรียกว่า เหงื่อ ต่อมใต้ผิวหนังจะเป็นตัวขับน้ำดี น้ำเสียออกมาพร้อมๆ กัน คนเรามีเหงื่อ ออกมามากๆ มักจะอ่อนเพลีย เพราะเกลือแร่ ไขมัน และน้ำตาลได้ถูกขับออกมา ผู้ที่ทำงานหนักและออกกำลังกายจะเกิดประโยชน์มาก เพราะเป็นการลดไขมันในเลือด ไตจะทำงานสมบูรณ์และสภาพดี จะทำให้เลือดที่สูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายสะอาดไปด้วย อวัยวะทุกส่วนก็ไม่ชำรุดเร็ว นอกจากนั้นต่อมหมวกไตยังผลิตฮอร์โมนนี้มาหล่อเลี้ยงเซลล์ในร่างกายเพื่อเซลล์จะไม่ตายง่าย และไปเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศด้วย ส่วนที่เหลือของฮอร์โมนก็จะแปรสภาพเป็นไขข้อไปหล่อเลี้ยงส่วนที่เป็นรอยต่อ หัวเข่า และกระดูกให้มีไขข้อไปหล่อลื่น ไม่ปวดเมื่อย ทำให้กระดูกไม่เสียดสีและสึกกร่อน เป็นต้นเหตุของอาการปวดเมื่อยตามจุดต่างๆ ในร่างกายนั่นเอง ไตที่ทำงานอย่างหนักเพราะอาหาร น้ำไม่สะอาด หรือมีสารเจือปน ก็จะเป็นสาเหตุให้ไตลดประสิทธิภาพการทำงานลงทีละน้อยจาก 100% ก็จะลดลงจนเหลือ 20% ก็จะเข้าขั้นต้องฟอกไตแล้ว.                                     
ข้อแนะนำ ถ้าดื่มยาน้ำสมุนไพรจีน ฮั้วลักเซียม แล้วมีอาการแปรปรวนก็ควรจะงดดื่ม 1 วัน หรือ 2 วัน เพื่อให้อาการลดลง ถ้าดื่มใหม่ เพื่อกระตุ้นให้อวัยวะและโครงสร้างของร่างกายปรับตัว. ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหายจากอาการแปรปรวนก็จะดื่มได้ปกติ.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น