โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหาร (อังกฤษ: Stomach) เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่นๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร
การย่อยอาหาร (อังกฤษ: Digestion) คือ กระบวนการแปรสภาพอาหารโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อการดูดซึมเข้าไปยังเซลล์ สารอาหารจำพวก คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เท่านั้นที่ต้องผ่านกระบวนการย่อยอาหารเสียก่อน ส่วน เกลือแร่ วิตามิน น้ำ สามารถดูดซึมเข้าไปยังเซลล์ได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางเคมี
ขั้นตอนการย่อยอาหาร
การย่อยอาหารมี 2 ขั้นตอน
1.    การย่อยเชิงกล เป็นการแปรสภาพอาหารโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงด้วยการบดเคี้ยวด้วยฟัน หรือการบีบตัวของทางเดินอาหาร
2.    การย่อยทางเคมี เป็นการแปรสภาพอาหารโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงโดยใช้เอนไซม์
 อวัยวะที่ใช้สำหรับย่อย
·         ปาก มีเอนไซม์ที่ชื่อว่าอะไมเลส ย่อยแป้ง ให้เป็นน้ำตาลมอลโทส
·         กระเพาะอาหาร มีเรนนินและเปปซิน เรนนินย่อยโปรตีนในน้ำนม กลายเป็นเคซีน แล้วจะมีแคลเซียมช่วยทำให้เคซีนเล็กลงกลายเป็นพาราเคซีน เปปซิน จะรวมกับกรดไฮโดรคลอลิก เพื่อย่อยโปรตีน ให้กลายเป็นเปปไตด์ กรดไฮโดรคลอริก ช่วยรักษาความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร เพื่อให้เอนไซม์ในกระเพาะอาหารทำงานได้ดี
·         ลำไส้เล็ก มีมอลเทส  ซูเครส  และ แลกเทส   ส่วน
·         ตับอ่อน มีอะไมเลส ย่อยกลูโคส ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ไลเปสย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมันตัว ทริปซินย่อยเปปไตด์ให้เป็นกรดอะมิโน
·         ตับ มีน้ำดี (ไม่ใช่เอนไซม์) ย่อยกรดไขมันให้เป้นไขมันแตกตัว
น้ำดีไม่จัดว่าเป็นการย่อยทางเคมีเพราะน้ำดีเพียงแค่ทำให้โมเลกุลของไขมันเล็กลง ไม่ได้เปลี่ยนคุณสมบัติทางเคมีของไขมัน ดังนั้นน้ำดีจึงจัดเป็นการย่อยเชิงกล

หน้าที่การทำงาน
หน้าที่หลักของกระเพาะอาหารคือการย่อยสลายสารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลงโดยอาศัยการทำงานของกรดเกลือ (hydrochloric acid) เพื่อให้ง่ายต่อการดูดซึมที่ลำไส้เล็ก นอกจากนี้กระเพาะอาหารยังมีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยโปรตีน คือเอนไซม์เพพซิน (pepsin) โดยในช่วงแรก เอนไซม์นี้จะถูกผลิตออกมาในรูปของเพพซิโนเจน (pepsinogen) ที่ยังไม่สามารถทำงานได้ แต่จะถูกเปลี่ยนเป็นเพพซินเมื่ออยู่ในสภาวะที่เป็นกรดภายในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้แล้ว กระเพาะอาหารยังทำหน้าที่ในการดูดซึมน้ำ ไอออนต่างๆ รวมทั้งแอลกอฮอล์ แอสไพริน และคาเฟอีนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของกระเพาะอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตคือการผลิตสารที่เรียกว่า อินทรินซิค แฟคเตอร์ (intrinsic factor) ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการดูดซึมวิตามิน บี12
กายวิภาคศาสตร์
กระเพาะอาหารวางตัวอยู่ทางด้านซ้ายของช่องท้อง โดยอยู่ระหว่างหลอดอาหารและลำไส้เล็กตอนต้น และมีบางส่วนที่สัมผัสกับกะบังลม และมีตับอ่อนวางอยู่ใต้กระเพาะอาหารด้วย ที่ส่วนโค้งใหญ่ (greater curvature) ของกระเพาะอาหารยังมีเยื่อโอเมนตัมใหญ่ (greater omentum) ห้อยลงมาคลุมอวัยวะอื่นๆในช่องท้องอีกด้วย ที่บริเวณติดต่อกับหลอดอาหารและลำไส้เล็กตอนต้น จะมีกล้ามเนื้อหูรูดที่ควบคุมการเข้าออกของสารภายในกระเพาะอาหาร ซึ่งได้แก่กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร (esophageal หรือ cardiac sphincter) ซึ่งแบ่งระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร และกล้ามเนื้อหูรูดไพลอริค (pyloric sphincter) ซึ่งแบ่งระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กตอนต้น
ส่วนของกระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหารจะถูกแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ซึ่งจะมีโครงสร้างในระดับเนื้อเยื่อที่แตกต่างกัน ได้แก่
·         ส่วนบนสุด ปากกระเพาะ หรือส่วนคาดิแอค (cardiac) เป็นส่วนที่ติดต่อกับหลอดอาหาร
·         ส่วนบน กระพุ้งกระเพาะอาหาร หรือส่วนฟันดัส (fundus)
·         ส่วนกลาง (body)
·         ส่วนท้าย หรือส่วนไพลอรัส (pylorus) มี กระเพาะส่วนปลาย (antrum, pylorus) และ หูรูดกระเพาะส่วนปลาย (pyloric sphincter) จะติดต่อกับลำไส้เล็กตอนต้น
ระบบไหลเวียนเลือด และระบบประสาท
หลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงกระเพาะอาหารทั้งหมดจะมาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ซิลิแอค (celiac trunk) ซึ่งได้แก่
·         หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย (left gastric artery)
·         หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา (right gastric artery)
·         หลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกซ้าย (left gastroepiploic artery)
·         หลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกขวา (right gastroepiploic artery)
ส่วนระบบหลอดเลือดดำที่นำเลือดออกจากกระเพาะอาหาร ได้แก่หลอดเลือดดำม้าม (splenic vein) และหลอดเลือดดำซุพีเรียมีเซนเทอริค (superior mesenteric vein) ซึ่งทั้งสองจะนำเลือดเข้าสู่ตับทางหลอดเลือดดำพอร์ทัล ระบบประสาทที่มาควบคุมการทำงานของกระเพาะอาหาร ได้แก่เส้นประสาทเวกัส (vagus nerve) ซึ่งกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร ขณะที่เส้นประสาทจากร่างแหประสาทซิลิแอค (celiac plexus) จะยับยั้งการทำงานของกระเพาะอาหาร
จุลกายวิภาคศาสตร์
โครงสร้างในระดับเนื้อเยื่อของกระเพาะอาหารโดยทั่วไปจะคล้ายกับส่วนอื่นๆของทางเดินอาหาร แต่จะมีการปรับเปลี่ยนไปสำหรับการหลั่งกรดและเอนไซม์ ชั้นต่างๆของกระเพาะอาหารจากในสุดออกมานอกสุด ได้แก่
·         ชั้นเยื่อเมือก (mucosa) จะประกอบด้วยชั้นของเซลล์เยื่อบุผิวที่เรียงตัวกันเป็นต่อม และยังมีชั้นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและชั้นกล้ามเนื้อบางๆอีกด้วย
·         ชั้นใต้เยื่อเมือก (submucosa) อยู่ถัดออกมา ซึ่งจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก และยังมีกลุ่มของปลายประสาทไมสส์เนอร์ (Meissner's plexus) ซึ่งทำหน้าที่รับรู้แรงกดและแรงตึงภายในกระเพาะอาหาร
·         ชั้นกล้ามเนื้อ (muscularis externa) สำหรับในกระเพาะอาหารจะมีชั้นกล้ามเนื้อเรียบถึงสามชั้น ซึ่งได้แก่ ชั้นใน (inner) ที่วางตัวในแนวเฉียง ชั้นกลาง (middle) ที่วางตัวเป็นวงรอบกระเพาะอาหาร และชั้นนอก (outer) ซึ่งวางตัวในแนวตามความยาวของกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อเหล่านี้จะช่วยในการเคลื่อนไหวและการบีบรัดของกระเพาะอาหารระหว่างการย่อย นอกจากนี้ ระหว่างกล้ามเนื้อชั้นกลางและชั้นนอก จะพบร่างแหประสาทเออร์บาค (Auerbach's หรือ Myenteric plexus) ซึ่งเป็นแขนงประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อภายในกระเพาะอาหาร
·         ชั้นเยื่อหุ้มนอกสุด (serosa) เป็นชั้นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มกระเพาะอาหาร และติดต่อกับเยื่อแขวนกระเพาะ
โรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
ในอดีตมักมีความเชื่อที่ว่าสภาวะที่เป็นกรดภายในกระเพาะอาหารจะช่วยทำลายเชื้อโรคต่างๆได้ อย่างไรก็ตาม การศึกษาใหม่ๆพบว่ากระเพาะอาหารสามารถเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะกระเพาะอาหารอักเสบ (gastritis) แผลในกระเพาะอาหาร (gastric ulcer) รวมทั้งมะเร็งกระเพาะอาหาร (stomach cancer) ซึ่งการติดเชื้อในกระเพาะอาหารมักเกิดจากแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) นอกจากนี้ การหลั่งกรดที่มากเกินไปในกระเพาะอาหารก็ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารเช่นกัน แผลในกระเพาะอาหารที่เกิดขึ้นเรื้อรังอาจนำไปสู่ภาวะกระเพาะทะลุได้อีกด้วย
 

โรคกระเพาะอาหาร (peptic ulce) หมายถึงอาการปวดแสบ ปวดต้อ ปวดเสียด หรือจุกแน่น ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ (เหนือสะดือ) เวลาก่อนรับประทานอาหารหรือหลังรับประทานอาหารใหม่ ๆ สาเหตุสำคัญของโรคกระเพาะคือ ความเครียด (วิตกกังวล คิดมาก เคร่งเครียดกับการงาน การเรียน) พฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดเวลา และการรับประทานอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้เช่น เหล้า เบียร์ แอสไพริน (ยาแก้ปวด ยาซอง) ยาแก้ปวดข้อ ยาชุด หรือยาลูกกลอนที่ใส่สเตียรอยด์ เครื่องดื่มชูกำลัง ที่เข้าสารคาเฟอีน เป็นต้น
การรักษาโรคกระเพาะ โดยการรับประทานยา และดูแลสุขภาพ ของตนเอง ดังนี้
      
ก. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
      
ข. รับประทานอาหาร 3 มื้อตามปกติ (ถ้าปวดมากในระยะแรก ควรรับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่นข้าวต้ม) อย่ารับประทานอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
ไม่จำเป็นต้องแบ่งรับประทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยมื้อขึ้นดังที่เคยแนะนำกันในอดีต เพราะยิ่งรับประทานมากนอกจากจะทำให้น้ำหนักขึ้นแล้ว (ต้องคอยลดความอ้วนอีก) ยังอาจจทำให้อาการกำเริบได้ง่ายอีกด้วยคนที่เป็นโรคกระเพาะบางครั้งอาจรู้สึกหิวง่ายก็ควรรับประทาน ยาลด กรดแทนนมหรือข้าว
       ค. งดเหล้า เบียร์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม และบุหรี่เพราะจะทำให้โรคกำเริบได้
       
ง. ห้ามรับประทานยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ ยาที่เข้าเตรียรอยด์ (ในรายที่จำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้รักษาโรคอื่น ควรปรึกษาแพทย์)
       
จ. คลายเครียดด้วยการออกกำลังกาย (เช่น วิ่งเหยาะ เดินเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน โยคะ เต้นแอโรบิก) หรือทำสมาธิ สวดมนต์ ไหว้พระ หรือเจริญภาวนาตามศาสนาที่ตัวเองนับถือ คนที่เป็นโรคกระเพาะเนื่องจากความเครียด การปฏิบัติในข้อนี้ จะมีส่วนช่วยให้โรคหายขาดได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น