ความดันโลหิตสูง ต่ำ

ความดันโลหิตสูง ต่ำ

ลักษณะทั่วไป ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ (คล้ายแรง ลมที่ดันผนังยางรถเวลาสูบลมเข้า) ซึ่งสามารถวัดโดยใช้ เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดความดัน (Sphygmomano meter) วัดที่แขน และมีค่าที่วัดได้ 2 ค่าคือ ความดันช่วงบน หรือความดันซิสโตลี (Systolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตามอายุ ความดันช่วงบนในคน ๆ เดียวกันอาจมีค่าแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ตามท่าของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และปริมาณของการออกกำลัง ความดันช่วงล่าง หรือความดันไดแอสโตลี (Diastolic blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว ในปัจจุบัน ได้มีการกำหนดค่าความดันโลหิต และระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (โดยการวัดในท่านั่ง วัดอย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป แล้วคิดเป็นค่าเฉลี่ย) ดังนี้.
ความดันช่วงบน
ปกติ มีค่าต่ำกว่า 130 มม.ปรอท (ทอรร์) ปกติแต่ค่อนข้างสูง มีค่าระหว่าง 130-139 มม.ปรอท ความดันสูงเล็กน้อย มีค่าระหว่าง 140-159 มม.ปรอท ความดันสูงปานกลาง มีค่าระหว่าง 160-179 มม.ปรอท ความดันสูงรุนแรง มีค่าระหว่าง 180-209 มม.ปรอท ความดันสูงรุนแรงมาก มีค่าตั้งแต่ 210 มม.ปรอทขึ้นไป
ความดันช่วงล่าง
ปกติ มีค่าต่ำกว่า 85 มม.ปรอท ปกติแต่ค่อนข้างสูง มีค่าระหว่าง 85-89 มม.ปรอท ความดันสูงเล็กน้อย มีค่าระหว่าง 90-99 มม.ปรอท ความดันสูงปานกลาง มีค่าระหว่าง 100-109 มม.ปรอท ความดันสูงรุนแรง มีค่าระหว่าง 110-119 มม.ปรอท ความดันสูงรุนแรงมาก มีค่าตั้งแต่ 120 มม.ปรอทขึ้นไป
ความดันโลหิตสูง จึงหมายถึง ความดันช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 90 มม.ปรอทขึ้นไป โดยมากผู้ป่วยจะมีความดันช่วงล่างสูง (Diastolic hypertension) โดยความดันช่วงบนจะสูงหรือไม่ ก็ได้ บางคนอาจมีความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว แต่ความดันช่วงล่างไม่สูง เรียกว่า ความดันช่วงบนสูงเดี่ยว (Isolated systolic hypertension) ซึ่งมักจะพบในผู้สูงอายุ, โรคคอพอกเป็นพิษ, ภาวะหลอดเลือดแดงเอออร์ตาตีบตัน เราจะวินิจฉัยโรคนี้แน่นอน ต่อเมื่อวัดความดันแต่ละคราว อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป หาค่าเฉลี่ยของความดัน และนัดมา วัดซ้ำอีกอย่างน้อย 1-2 คราวภายใน 1 สัปดาห์ แล้วยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยความดันสูงกว่าปกติ ในการวัดแต่ละคราว ควรให้ ผู้ป่วยนั่งพักสัก 5-10 นาทีเสียก่อนโรคความดันโลหิตสูง พบได้ประมาณ 5-10% ของคนทั่วไป ส่วนมากจะเริ่มเป็นในคน ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ส่วนน้อยที่อาจพบในคนอายุน้อย ซึ่งมักจะมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย

ความดันเลือด หรือ ความดันโลหิต (อังกฤษ: blood pressure) คือ แรงดันเลือด ที่เกิดจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
1. หัวใจ ห้องล่างขวา โดยหัวใจบีบตัวเพื่อนำเลือดดำไปปอด เลือดจะถูกส่งผ่านไปยังเส้นเลือดแดงที่จะไปปอด pulmonary arteries เพื่อไปรับออกซิเจน เมื่อเลือดได้รับออกซิเจนแล้ว ก็จะเปลื่ยนจากเลือดดำ เป็นเลือดแดง ไหลกลับมายังหัวใจด้านซ้าย ทางเส้นเลือดดำจากปอดสู่หัวใจห้องบนซ้าย pulmonary veins
เมื่อวัดความดันในหลอดเลือดแดงที่ไปปอด จะได้ค่าตัวเลข 2 ค่า เช่น 25/10 มม.ปรอท ค่าตัวบนเรียกว่า ความดันช่วงหัวใจบีบ (ความดันซิสโตลิก:systolic) หมายถึงความดันเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว จากตัวอย่างวัดได้ค่าเท่ากับ 25 มม.ปรอท ส่วนค่าตัวล่างเรียกว่า ความดันช่วงหัวใจคลาย (ความดันไดแอสโตลิก:diastolic) หมายถึง ความดันเมื่อหัวใจคลายตัว ซึ่งจากตัวอย่างจะมีค่าเท่ากับ 10 มม.ปรอท นั่นเอง
2. หัวใจ ห้องล่างซ้าย โดยหัวใจบีบตัวเพื่อนำเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เลือดจะถูกส่งผ่านไปยังเส้นเลือดแดงใหญ่ Aorta และกระจายไปตามหลอดเลือดแดงไปสู่อวัยวะสำคัญต่างๆ รวมถึงแขนและขา ซึ่งโลหิตจะมีแรงกระทำต่อผนังเส้นเลือด
เมื่อเวลาวัดความดันที่หลอดเลือดแดงที่แขนหรือขาจะได้ค่าตัวเลข 2 ค่า เช่น 120/80 มม.ปรอท ค่าตัวบนเรียกว่า ความดันช่วงหัวใจบีบ (ความดันซิสโตลิก:systolic) หมายถึงความดันเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว จากตัวอย่างวัดได้ค่าเท่ากับ 120 มม.ปรอท ส่วนค่าตัวล่างเรียกว่า ความดันช่วงหัวใจคลาย (ความดันไดแอสโตลิก:diastolic) หมายถึง ความดันเมื่อหัวใจคลายตัว ซึ่งจากตัวอย่างจะมีค่าเท่ากับ 80 มม.ปรอท นั่นเอง
เมื่อหัวใจบีบตัว Systolic แรงดันโลหิตในหลอดเลือดแดง จะมีแรงดันน้อยกว่าแรงที่หัวใจบีบตัวเล็กน้อย ก็เนื่องจาก หลอดเลือดแดงจะมีความยืดหยุ่น Elasticity ทำให้หลอดเลือดแดงขยายตัวออกได้เล็กน้อย แรงดันโลหิตในหลอดเลือดแดงจึงต่ำลง
เมื่อหัวใจคลายตัว Diastolic แรงดันโลหิตในหัวใจห้องล่างจะลดลงเป็น ศูนย์ มม.ปรอท หรือต่ำกว่าเล็กน้อย แต่แรงดันโลหิตในหลอดเลือดแดง จะไม่ลงลงเป็น ศูนย์ มม.ปรอท เนื่องจากหัวใจ มีลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องล่าง และหลอดเลือดแดง ลิ้นหัวใจจะทำหน้าที่เป็นประตูเปิด-ปิด ให้เลือดไหลได้ไปในทิศทางเดียว ไม่สามารถไหลย้อนกลับได้ เมื่อหัวใจห้องล่างคลายตัว ลิ้นหัวใจก็จะปิดลง ทำให้เลือดยังคงค้างอยู่ในหลอดเลือดแดง ไม่ไหลย้อนกลับเข้าไปในหัวใจห้องล่าง ดังนั้นจึงยังมีแรงดันโลหิตในหลอดเลือดแดงในช่วงหัวใจห้องล่างคลายตัวได้ นอกจากนี้ หลอดเลือดแดงที่ขยายตัวออกในช่วงหัวใจบีบตัว ก็จะมีแรงจากหลอดเลือดแดงบีบตัวในช่วงแรงดันโลหิตลดลงนี้ Diastolic vascular recoil
ดังจะสังเกตได้ว่า คนที่มีอายุน้อย หลอดเลือดยังมีความยืดหยุ่นอยู่มาก ความดันโลหิตที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย มักจะวัดค่าตัวบน systolic ได้ต่ำ และวัดค่าตัวล่าง diastolic ได้สูง เช่น วัดได้ 100/80 มม.ปรอท ในขณะที่ คนที่มีอายุมาก หลอดเลือดมักจะแข็ง และมีความยืดหยุ่นน้อยลง ความดันโลหิตที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย มักจะวัดค่าตัวบน systolic ได้สูง และวัดค่าตัวล่าง diastolic ได้ต่ำ เช่น วัดได้ 140/60 มม.ปรอท
       
        สาเหตุ
ส่วนใหญ่ (กว่า90%) ไม่ทราบสาเหตุ คือ ตรวจไม่พบความผิดปกติของร่างกายที่เป็นต้นเหตุของความดันสูง เรียกว่า "ความดันสูงไม่ทราบสาเหตุ" (Essential hypertension หรือ Primary hypertension) แต่อย่างไรก็ตามมักพบว่า ปัจจัยทางกรรมพันธุ์อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคกล่าวคือ ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องในครอบครัวเดียวกันเป็นโรคนี้ จะมีโอกาส เป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติดังกล่าวประมาณ 3 เท่า นอกจากนี้ อายุมาก ความอ้วน อารมณ์เครียด การกิน อาหารเค็มจัด และการดื่มเหล้าจัด ก็อาจเป็นปัจจัยเสริมของโรคนี้ ผู้ป่วยพวกนี้ จะเริ่มเป็นเมื่ออายุประมาณ 25-55 ปี เริ่มพบ มากในคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และยิ่งอายุมากขึ้น ก็มีโอกาสพบได้มากขึ้น ส่วนน้อย (ต่ำกว่า 10% ) อาจตรวจพบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าพบในคนอายุต่ำกว่า 30 ปี หรือเริ่มมีความดันสูง เมื่ออายุมากกว่า 55 ปี เรียกว่า "ความดันสูงชนิดมีสาเหตุ" (Secondary hypertension)สาเหตุที่อาจพบได้มีหลายอย่าง เช่น
ได้รับยาบางประเภท เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด, ยาฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน), สเตอรอยด์ , ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์, ยาแก้คัดจมูก (decongestant) และยาแก้หวัดที่เข้ายาแก้คัดจมูก, ยาลดความอ้วน, อะดรีนาลิน , ทีโอฟิลลีน, ยาฮอร์โมนไทรอยด์, ยาแก้ซึมเศร้าชนิด ไตรไซคลิก เป็นต้น ความดันสูงในหญิงตั้งครรภ์ โรคไต เช่น หน่วยไตอักเสบ , กรวยไตอักเสบเรื้อรัง , ไตวายเรื้อรัง, หลอดเลือดเลี้ยงไตตีบตัว (Renal artery stenosis) ซึ่งมักได้ยินเสียงฟู่ (bruit) ที่หน้าท้อง, วัณโรคของไต, เนื้องอกของไต เป็นต้น หลอดเลือดแดงเอออร์ตาตีบตัว (Coarctation of aorta) ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว (Aortic insufficiency) ซึ่งมักจะทำให้ความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว ส่วนความดันช่วงล่างเป็นปกติ โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น คอพอกเป็นพิษ มักจะทำให้ความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว, โรคคุชชิง , เนื้องอกของต่อมหมวกไตชนิดที่เรียกว่า ฟีโอโครโมไซโตมา (Pheochromocytoma ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดศีรษะ ใจสั่น เหงื่อออก หน้ามืด เป็นลม น้ำหนักลดร่วมด้วย) เป็นต้น อื่น ๆ เช่น ภาวะความดันสูงในกะโหลกศีรษะ, ตะกั่วเป็นพิษ, ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เป็นต้น
ในผู้สูงอายุ มักมีความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีภาวะผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว (atherosclerosis) เรียกว่า "ความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ" ความดันโลหิตอาจสูงได้ชั่วคราว เมื่อมีภาวะที่ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เช่น ไข้ ซีด ออกกำลังกายใหม่ ๆ อารมณ์เครียด (เช่น โกรธ ตื่นเต้น) เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องรักษา จะหายไปได้เองเมื่อปัจจัยเหล่านี้หมดไป

อาการ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่อย่างใด ซึ่งมักจะตรวจพบโดยบังเอิญ ขณะไปให้แพทย์ตรวจรักษาด้วยปัญหาอื่น ส่วนน้อย อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ วิงเวียน มักจะเป็นเวลาตื่นนอนใหม่ ๆ พอตอนสายจะทุเลาไปเองบางคนอาจ มีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ แบบไมเกรน ได้ ในรายที่เป็นมานาน ๆ หรือความดันสูงมาก ๆ อาจมีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ มือเท้าชา ตามัว หรือมีเลือดกำเดาไหล เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษา ก็ อาจแสดงอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บหน้าอก บวม หอบเหนื่อย แขนขาเป็นอัมพาต เป็นต้น
อาการแทรกซ้อน ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยให้ความดันสูงอยู่นาน ๆ มักจะเกิดความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ไต ประสาทตา เป็นต้น เนื่องจากความดันโลหิตสูง จะทำให้หลอดเลือดแดงแทบทุกส่วนของร่างกายเสื่อม (เกิด ภาวะผนังหลอดเลือดแดงแข็ง) หลอดเลือดตีบตัน เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่ได้ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ หัวใจ จะทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายโต จนกระทั่งเกิดภาวะหัวใจวาย ซึ่งจะมีอาการบวม หอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจตีบตัน กลายเป็นโรคหัวใจขาดเลือด มีอาการเจ็บหน้าอก ถ้ารุนแรงถึงกับเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย สมอง อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตกกลายเป็นโรคอัมพาตครึ่งซีก ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ในรายที่มีเส้นโลหิตฝอยในสมองส่วนสำคัญแตก ก็อาจตายได้อย่างรวดเร็ว ถ้าเป็นเรื้อรัง บางคนอาจกลายเป็นโรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง ในรายที่มีความดันสูงรุนแรง ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันอาจทำให้เกิดอาการชัก หรือหมดสติได้ ไต อาจเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง เนื่องจากหลอดเลือดแดงเสื่อม เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ไตที่วายจะยิ่งทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น กลายเป็นวงจรที่เลวร้าย ในการตรวจปัสสาวะจะพบสารไข่ขาว (albumin) ตั้งแต่ 2+ ขึ้นไป การเจาะเลือดทดสอบการทำงานของไต จะพบระดับของสารบียูเอ็น (BUN) และครีอะตินีน (creatinine) สูง ตา จะเกิดภาวะเสื่อมของหลอดเลือดแดงภายในลูกตาอย่างช้า ๆ ในระยะแรกหลอดเลือดจะตีบตัน ต่อมาอาจแตกมีเลือดออกที่จอตา (เรตินา) ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อย ๆ จนตาบอดได้ ซึ่งสามารถใช้เครื่องส่องตา (ophthalmoscope) ตรวจดูความผิดปกติภายในลูกตา ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ จะเกิดขึ้นรุนแรงหรือรวดเร็วเพียงใด ขึ้นกับความรุนแรงและระยะของโรคถ้าความดันมีขนาดสูงมาก ๆ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้รวดเร็ว และผู้ป่วยอาจตายได้ภายในเวลาไม่กี่ปี (ถ้ารุนแรงมากอาจตายภายใน 6-8 เดือน) ส่วนในรายที่เป็นเพียงเล็กน้อย หากปล่อยไว้ ไม่รักษา อาจใช้เวลา 7-10 ปีในการเกิดภาวะแทรกซ้อนนอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีโรคอื่นร่วมด้วย (เช่น เบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง) หรือสูบบุหรี่ หรือดื่มเหล้าจัด ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้น จึงควรควบคุมโรคหรือพฤติกรรมเหล่านี้
ความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตจะทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งและตีบ

ความดันโลหิต  เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติ ทำให้หัวใจต้องบีบตัวมากขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปตามหลอดเลือด ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันในหลอดเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว (ความดันช่วงหัวใจบีบ; systole) และ ความดันในหลอดเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว (ความดันช่วงหัวใจคลาย; diastole) ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100-140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60-90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ดังนั้นผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงหมายถึงผู้ที่มีความดันเลือดเท่ากับหรือสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท
ความดันโลหิตเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุเพราะขาดเลือด หัวใจวาย หลอดเลือดโป่งพอง (เช่นหลอดเลือดแดงใหญ่เอ ออร์ตาโป่งพอง) โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย และเป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตที่สูงในระดับปานกลางก็มีความสัมพันธ์กับอายุขัยที่สั้นลง การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมการกินอาหารสามารถช่วยลดความดันเลือดและลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ดังกล่าวได้ แต่สำหรับผู้ป่วยที่รักษาด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแล้วไม่ได้ผลหรือไม่เพียงพอจำเป็นต้องรักษาด้วยยา.
ผู้ใหญ่
ในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ความดันโลหิตสูงหมายถึงภาวะที่มีผลการวัดความดันเลือดช่วงหัวใจบีบ และ/หรือความดันเลือดช่วงหัวใจคลาย มากกว่าค่าความดันเลือดปกติอย่างต่อเนื่อง  ในปัจจุบันถือเอาค่าความดันเลือดปกติคือ ความดันเลือดช่วงหัวใจบีบไม่เกิน 139 มิลลิเมตรปรอท และความดันเลือดช่วงหัวใจคลายไม่เกิน 89 มิลลิเมตรปรอท  หากวัดความดันเลือดโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง หรือเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติที่บ้าน ให้ถือเกณฑ์ความดันเลือดช่วงหัวใจบีบที่ตั้งแต่ 135 มิลลิเมตรขึ้นไป หรือความดันเลือดช่วงหัวใจคลายที่ตั้งแต่ 85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปเป็นภาวะความดันโลหิตสูง
แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูงในปัจจุบันจัดกลุ่มผู้ที่มีความดันเลือดสูงแต่ไม่ถึงเกณฑ์เป็นความดันโลหิตสูงเพื่อบอกถึงความเสี่ยงต่อเนื่องในผู้ที่ความดันโลหิตค่อนข้างสูงแต่ยังอยู่ในค่าปกติ โดย JNC7 (ค.ศ. 2003)   ใช้คำว่า "ก่อนความดันโลหิตสูง" (prehypertension) ในผู้ที่มีความดันเลือดช่วงหัวใจบีบในช่วง 120-139 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือความดันเลือดช่วงหัวใจคลาย 80-89 มิลลิเมตรปรอท ในขณะที่ ESH-ESC Guidelines (ค.ศ. 2007)    BHS IV (ค.ศ. 2004)  รวมถึงแนวทางการรักษาโดยสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2555)   แบ่งประเภทผู้ที่ความดันเลือดต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทตามค่าความดันมากน้อย โดยใช้จัดเป็นกลุ่ม "เหมาะสม" (optimal) "ปกติ" (normal) และ "ปกติค่อนสูง" (high normal)
ในช่วงความดันโลหิตสูงก็มีการจัดกลุ่มตามความรุนแรงเช่นเดียวกัน โดย JNC7 แยกกลุ่มที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทออกเป็น "ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1" (hypertension stage I) "ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2" (hypertension stage II) และ "ความดันโลหิตเฉพาะช่วงหัวใจบีบสูง" (isolated systolic hypertension) ความดันโลหิตเฉพาะช่วงหัวใจบีบสูงหมายถึงผู้ที่มีความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบสูงแต่ความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายปกติ มักพบในผู้สูงอายุ  ในขณะที่ ESH-ESC Guidelines (ค.ศ. 2007)  BHS IV (ค.ศ. 2004)  และแนวทางการรักษาของประเทศไทย (พ.ศ. 2555)  มีการเพิ่มกลุ่ม "ความดันโลหิตสูงระยะที่ 3" หมายถึงผู้ที่มีความดันเลือดช่วงหัวใจบีบมากกว่า 179 มิลลิเมตรปรอท หรือความดันเลือดช่วงหัวใจคลายมากกว่า 109 มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิตสูง "ชนิดดื้อ" (resistant) หมายถึงการใช้ยาไม่สามารถลดความดันเลือดกลับมาอยู่ในระดับปกติได้
เด็ก
ความดันโลหิตสูงในทารกพบได้น้อยมากคือประมาณร้อยละ 0.2-3 ของจำนวนทารกแรกเกิด และการวัดความดันโลหิตมักจะไม่ทำกันเป็นประจำในทารกแรกเกิดที่สุขภาพดี  ความดันโลหิตสูงพบได้บ่อยกว่าในทารกที่มีภาวะเสี่ยง การประเมินว่าความดันเลือดนั้นปกติหรือไม่ในของทารกแรกเกิดต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ อาทิ อายุครรภ์ อายุหลังการปฏิสนธิ และน้ำหนักแรกเกิด
ความดันโลหิตสูงพบได้ค่อนข้างบ่อยในเด็กและวัยรุ่น (2-9% ขึ้นกับอายุ เพศ และเชื้อชาติ)  และสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยในระยะยาว  ในปัจจุบันแนะนำว่าในเด็กอายุมากกว่า 3 ปีทุกรายควรได้รับตรวจการวัดความดันโลหิตเมื่อมาตรวจรักษาหรือตรวจสุขภาพ แต่หากพบความดันเลือดสูงจะต้องตรวจยืนยันซ้ำก่อนที่จะจำแนกว่าเด็กมีภาวะความดันโลหิตสูง.
ในเด็กความดันเลือดจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ความดันโลหิตสูงในเด็กหมายถึงการมีค่าเฉลี่ยของความดันขณะหัวใจบีบหรือความดันขณะหัวใจคลายจากการวัดความดันเลือดตั้งแต่สามครั้งขึ้นไป มากกว่าหรือเท่ากับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 ของความดันโลหิตในอายุ เพศ และความสูงเดียวกัน ส่วนภาวะก่อนความดันโลหิตสูงในเด็กหมายถึงค่าเฉลี่ยของความดันขณะหัวใจบีบหรือความดันขณะหัวใจคลายอยู่ระหว่างเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90-95 ของความดันโลหิตในอายุ เพศ และความสูงเดียวกันส่วน การวินิจฉัยและจัดจำแนกประเภทในวัยรุ่นให้ใช้เกณฑ์เหมือนกับผู้ใหญ่  
ความดันโลหิตสูงในทารกแรกเกิดและทารกอาจมาด้วยเลี้ยงไม่โต ชัก งอแงร้องกวน ง่วงซึม และหายใจลำบาก  ความดันโลหิตสูงในเด็กอาจทำให้ปวดศีรษะ อ่อนล้า เลี้ยงไม่โต มองภาพไม่ชัด เลือดกำเดาออก และใบหน้าเป็นอัมพาต
ความดันโลหิตสูงมักไม่ค่อยจำเพาะกับอาการใดๆ ส่วนใหญ่มักตรวจพบจากการตรวจคัดกรองหรือพบโดยบังเอิญจากการมาพบแพทย์ด้วยภาวะอื่นๆ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวนหนึ่งมักบอกอาการปวดศีรษะโดยเฉพาะบริเวณท้ายทอยในช่วงเช้า เวียนศีรษะ รู้สึกหมุน มีเสียงหึ่งๆ ในหู หน้ามืดหรือเป็นลม  อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวมักสัมพันธ์กับความวิตกกังวลมากกว่าภาวะจากความดันโลหิตสูง
ในการตรวจร่างกาย ผู้ป่วยที่สงสัยภาวะความดันโลหิตสูงจะตรวจพบโรคที่จอตาจากความดันโลหิตสูง (hypertensive retinopathy) จากการตรวจตาโดยใช้กล้องส่องตรวจในตา (ophthalmoscopy)   โรคที่จอตาจากความดันโลหิตสูงสามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ระดับตามความรุนแรง การตรวจตาจะช่วยบอกว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงมาเป็นระยะเวลานานเท่าไร
ลักษณะอาการ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากความเครียด ทำให้ต่อมในสมองหลั่งสารออกมา 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว และ ชนิดที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ผู้ที่เกิดความเครียดบ่อยๆ จะทำให้หลอดเลือดแข็งและหดตัว ทำให้การไหลเวียนของโลหิตไม่ดี การรับประทานยาลดความดันจะได้ผลระยะแรกๆ แต่ไม่หายขาดต้องรับประทานเป็นประจำและยังส่งผลกระทบต่ออวัยวะข้างเคียงอีก หลายประการ โรคความดันโลหิตหากปล่อยไว้นานๆ อาจจะเกิด การแตก หรือปริของหลอดเลือดในสมองส่งผลให้เป็นอัมพาต หรืออัมพฤกษ์ ได้ถ้าเส้นเลือดใหญ่ด้านหลังศรีษะแตก ก็มีสิทธิ์หมดสติ ไม่รู้สึกตัว และถึงแก่ความตายอย่างง่ายดาย.
ดื่มยาน้ำสมุนไพรจีน ฮั้วลักเซียม เมื่อดื่มสมุนไพรแล้ว สรรพคุณของสมุนไพรจะไปช่วยล้างไขมันในเส้นเลือด รวมทั้งไปกระตุ้นให้ต่อมหลั่งสารออกมาช่วยทำให้หลอดเลือดนิ่ม และขยายตัวความดันโลหิตจะเป็นปกติ แต่ยังต้องมีการออกกำลังกายเสริมด้วย ดื่มไปขวดแรก ความดันโลหิตจะแปรปรวน เพราะสมุนไพรจะไปทำความสะอาดรวมทั้งการล้างไขมันในเส้นเลือดด้วย.
 การป้องกัน ระวังอย่าให้อ้วน, อย่ากินอาหารเค็มจัด, อย่าดื่มเหล้าจัด, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ, หาวิธีผ่อนคลายความเครียด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น