โรคตับ

โรคตับ
ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ตับมีหน้าที่ทำลายสารพิษ poison หรือของเสียออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกัน immune เพื่อต่อต้านเชื้อโรค สร้างสารเพื่อให้เลือดแข็งตัว clotting factors  สร้างน้ำดี  bile เพื่อย่อยอาหารและดูดซึมวิตามินที่ละลายในน้ำมัน fat soluble vitamin เป็นอวัยวะที่สำคัญมาก มีหน้าที่หลายอย่าง เช่น การสร้างน้ำดี ช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน เก็บสำรองอาหาร โดยการเก็บ glucose ไปสะสมไว้ในเซลล์ตับ ในรูปของ glucogen และเมื่อร่างกายต้องการใช้ ก็จะทำการเปลี่ยน glucogen มาเป็น glucose ตับเป็นแหล่งสะสมวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ ดี และบี12 และยังทำหน้าที่ขจัดสารพิษที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด

ตับยังทำหน้าที่สร้าง วิตามินเอ จากสารแคโรทีน ซึ่งมีสะสมอยู่ในพวกแครอทและมะละกอ สร้างธาตุเหล็ก ทองแดง และยังสร้างสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กินและทำลายเชื้อโรค และเป็นแหล่งให้พลังงานความร้อนแก่ร่างกายจะเห็นได้ว่าตับทำหน้าที่สำคัญมากมายให้แก่ร่างกายเรา ฉะนั้นหากเซลล์ตับถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพไป ก็จะมีผลเสียแก่สุขภาพของเรา เราจึงควรหมั่นตรวจสอบสมรรถภาพของตับอย่างสม่ำเสมอ
การทดสอบสมรรถภาพของตับ ทำได้โดยทดสอบทางห้องชันสูตร แตผลการทดสอบไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า ตับปกติดีร้อยเปอร์เซนต์ หรือเสื่อมสภาพไป แต่การทดสอบสามารถบ่งชี้ถึงความเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ก็มีประโยชน์ในการแยกประเภทของโรค การติดตามการดำเนินของโรค และการติดตามผลการรักษาโรค
โรคตับอักเสบ หมายถึง โรคที่เซลล์ของตับมีการอักเสบเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการแพ้สารพิษ หรือการติดเชื้อจุลชีพ หรือติดเชื้อไวรัส ปัจจุบันพบว่าส่วนใหญ่ติดเชื้อจากไวรัส ตับจะบวมโต ผู่ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นบริเวณตับ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย บางรายมีไข้ต่ำๆ คลื่นใส้ และอาเจียน บางรายตัวเหลื่อง ตาเหลือง
โรคตับอักเสบ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง อาการของผู่ป่วยจะคล้ายคลึงกัน ต้องอาศัยการตรวจเลือดเพื่อดูอาการของตับ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ทราบถึงตัวเชื้อต้นเหตุ และเป็นแนวทางในการดูแลป้องกันและรักษาผู้ป่วย
โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัสต่างชนิดกัน จะมีความรุนแรงและการรักษาต่างกันไปที่พบบ่อยเกิดจากเชื้อ

เชื้อไวรัสตับอักเสบเอ เข้าสู่ร่างกายเราโดยการรับประทานอาหาร ผู้ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ ในผู้ใหญ่มักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็ก ผู้ที่ติดเชื้อชนิดนี้ เมื่อรักษาหายแล้วจะหายขาด ไม่กลับมาเป็นอีก และไม่มีภาวะการเป็นพาหนะตามมาภายหลังอาการของโรค มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียนในระยะแรก ซึ่งอาจทำให้แพทย์เข้าใจผิดว่าเป็นโรคทางเดินอาหารได้ หลังจากนั้น 1 สัปดาห์อาการจะดีขึ้น เริ่มมีอาการดีซ่าน หรือตัวเหลือง หลังจากนั้นอีก 1-2 สัปดาห์ ก็จะทุเลาลง แต่บางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้การรักษา ให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ 1-4 สัปดาห์ ให้อาหารอ่อนย่อยง่าย มีไขมันต่ำ ป้องกันอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และอาเจียน หลีกเลี่ยงยา หรือสารที่เป็นอันตรายต่อตับ
                                                                                                                                                      เชื้อไวรัสตับอักเสบบี พบได้ในสารน้ำและสารคัดหลั่งต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ เลือด น้ำลาย น้ำนม น้ำอสุจิ และเมือกในช่องคลอด จึงติดต่อถึงกันได้ทางเข็มฉีดยา หรือของมีคมที่เปื้อนเลือด ทางเพศสัมพันธ์ และการติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ อาการเริ่มแรกไม่ชัดเจน ไม่รวดเร็ว จะมีไข้ต่ำๆ หรืออาจไม่มี ต่อมาไข้สูง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน และค่อยๆ ตัวเหลือง ตาเหลือง และเป็นดีซ่าน บางรายไม่มีอาการแสดงให้เห็น กว่าจะรู้ตัวเป็นตับแข็งแล้ว โรคตับอักเสบเรื้อรังอาจมีอาการอื่นร่วมอยู่ด้วย เช่น ปวดข้อ หรือไตอักเสบ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะทุเลาและหายสนิท ส่วนน้อยที่จะมีความรุนแรงของโรคถึงแก่ชีวิต หรือทุเลาแล้วกลับรุนแรงขึ้นอีก บางรายกลายเป็นพาหนะเรื้อรัง โดยไม่แสดงอาการเจ็บป่วย แต่สะสมเชื้อไว้ภายในร่างกาย

 เชื้อไวรัสตับอักเสบซี เป็นไวรัสตับอักเสบที่ไม่ใช่ชนิด เอ และไม่ใช่บี มีการแพร่โรคโดยการรับเลือดที่มีเชื้อ ใช้เข็มและกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ป่วย ผู้ปว่ยส่นใหญ่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการแต่ไม่รุนแรง ผู้ติดเชื้อบางรายกลายเป็นพาหนะเรื้อรัง เป็นตับแข็ง และมะเร็งตามมา ผู้ป่วยโรคนี้พบหลังจากการถ่ายเลือดอาการเริ่มแรก อาจเบื่ออาหาร หรือคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้องบ้างเล็กน้อย ตามด้วยอาการดีซ่าน โรคนี้มีระยะฟักตัวประมาณ 8 สัปดาห์การตรวจวินิจฉัยโรค ทำโดยการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการไวรัส

เชื้อไวรัสตับอักเสบดี พบในผู้ป่วยกลุ่มที่มีการฉีดยาเสพติด รับเชื้อจากการใช้เข็มและกระบอกฉีดร่วมกัน เชื้อชนิดนี้ไมาสามารถเพิ่มจำนวนในเซลล์ตับได้โดยลำพัง แต่จะติดเชื้อร่วมกับตับอักเสบบี แล้วจึงเพิ่มจำนวนไวรัสทั้งตับอักเสบ ดี และ บี การติดเชื้อ เช่นเดียวกับโรคตับอักเสบบี ตับอักเสบดีทำให้เกิดโรคตับอักเสบรุนแรงกว่าเชื้ออื่นๆ และอาจติดเชื้อเรื้อรัง จนกลายเป็นตับแข็งในอัตราค่อนข้างสูงๆ การป้องกัน โดยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี จะป้องกันโรคนี้ได้ด้วย

เชื้อไวรัสตับอักเสบอี ติดต่อโดยการรับประทานอาหาร หรือน้ำดื่มที่มีเชื้อนี้ พบว่าไวรัสตับอักเสบอี ทำให้เกิดการติดเชื้อเรื้อรังเชื้อไวรัสตับอักเสบอี เป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ ตับอักเสบชนิด เอ และไม่ใช่บี และมีการแพร่โรคนี้โดยการกิน ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่สามารถยืนยันได้ว่า ติดต่อถึงกันได้โดยการรับประทานอาหารหรือไม่ เมื่อเป็นแล้วจะเป็นพาหนะเรื้อรังหรือไม่
โรคตับแข็ง Liver cirrhosis
ผู้ป่วยที่เป็นตับแข็ง เนื้อตับจะถูกทำลายจะมีพังผืดแทรกและเบียดเนื้อตับที่ดีทำให้เลือดไปที่ตับน้อยลง

สาเหตุ
ตับแข็งเกิดจากหลายสาเหตุ ในประเทศไทยโดยมากเกิดจาก สุรา ไวรัสตับอักเสบ บี
  1. Alcoholic cirrhosis ตับแข็งที่เกิดจากสุรามักเกิดหลังจากที่ได้ดื่มสุราเป็นปริมาณมากมาในระยะเสลาหนึ่ง ปริมาณที่ดื่มขึ้นกับแต่ละบุคคล ผู้หญิงจะเกิดตับแข็งได้ง่ายกว่าผู้ชาย ผู้หญิงอาจจะดื่มเพียง 2-3 แก้วต่อวันก็ทำให้เกิดตับแข็ง ผู้ชายดื่ม 4-6 แก้วต่อวันก็สามารถทำให้เกิดตับแข็ง เชื่อว่าสุราทำให้การสันดาปของโปรตีน ไขมัน และ แป้งผิดไป
  2. Chronic hepatitis B,D ไวรัสตับอักเสบทำให้เกิดอักเสบของตับเป็นเป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะมีตับแข็ง
  3. Chrinic hepatitis C เริ่มพบมากขึ้นทั่วโรคตับมีการอักเสบอย่างช้าก่อนเป็นตับแข็ง
  4. Autoimmune hepatitis เกิดจากโรคที่ภูมิคุ้มกันมีการทำลายเนื้อตับ
  5. Inherited diseases โรคกรรมพันธุ์บางโรคทำให้เกิดตับแข็ง เช่น hemochromatosis, Wilson's disease, galactosemia,
  6. Nonalcoholic steatohepatitis (NASH) มีการสร้างไขมันในตับเพิ่มทำให้กลายเป็นตับแข็ง เช่นผู้ป่วยเบาหวาน คนอ้วน
  7. Blocked bile ducts มีการอุดกั้นของทางเดินน้ำดี เช่นนิ่วของถุงน้ำดีถ้าหากอุดนานๆทำให้เกิดตับแข็ง
  8. ยา และสารพิษ หากไดัรับติดต่อกันเป็นเวลานานก็ทำให้เกิดตับแข็ง
อาการ
ผู้ป่วยตับแข็งในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการ เมื่อตับเป็นมากขึ้นเรื่อยๆจึงเกิดอาการของตับแข็งได้แก่
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • เหนื่อยง่าย
  • คลื่นไส้
  • น้ำหนักลด
ถ้าหากโรคเป็นมากขึ้นผู้ป่วยบางรายอาจมาด้วยอาการของโรคแทรกซ้อน

โรคแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง
-บวมหลังเท้า และท้องมานเนื่องจากตับไม่สามารถสร้างไข่ขาว
-เลือดออกง่าย เนื่องจากตับไม่สามารถสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว
-ตัวเหลืองและตาเหลือง เนื่องจากตับไม่สามารถขับน้ำดี
-คันตามตัวเนื่องจากน้ำดีสะสมตามผิวหนัง
-นิ่วในถุงน้ำดี
  สูญเสียความสามารถเกี่ยวกับความจำ สติ เนื่องจากการคั่งของๆเสียไวต่อยา การให้ยาในผู้ป่วยตับแข็งต้องระวังการเกิดยาเกินขนาด เนื่องจากตับไม่สามารถทำลายยา แม้ว่าจะให้ยาขนาดปกติ ยาบางชนิดอาจต้องลดปริมาณยา
อาเจียนเป็นเลือดเนื่องจากตับแข็ง จะทำให้ความดันในตับสูง ส่งผลให้หลอดเลือดดำในหลอดอาหารมีความดันสูง และถ้าสูงมากเกิดการแตกของหลอดเลือดดำ
ปัญหาต่อระบบอื่น เช่น ติดเชื้อง่ายเนื่องจากภูมิคุ้มกันลดลง ท้องมาน ไตวาย   ริดสีดวงทวาร


การวินิจฉัย
แพทย์จะซักประวัติหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดตับแข็งและตรวจร่างเพื่อหาสิ่งแสดงว่าเป็นตับแข็งหรือไม่ เช่น ตัวเหลืองตาเหลือง ท้อง และเท้าบวม ฝ่ามือแดง palma erythema มีจุดแดง spider telangiectasia ตามตัวหรือไม่ คลำตับพบว่าผิวแข็งขรุขระ ขอบไม่เรียบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ แพทย์จะเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับความผิดปกติที่อาจพบได้คือ ไข่ขาวต่ำ มีการคั่งของน้ำดี bilirubin บางรายอาจตรวจ ultrasound หรือเจาะเนื้อตับ

การรักษา
1.รักษาสาเหตุ ขึ้นกับว่าต้นเหตุเกิดจากอะไรก็รักษาไปตามสาเหตุ เช่น ถ้าเกิดจากสุราก็ให้หยุดสุรา เกิดจากยาก็ให้หยุดยา เกิดจากไวรัสก็ให้ยาบางชนิด โรคตับแข็งรักษาให้หายขาดไม่ได้แต่สามารถชะลอหรือหยุดการดำเนินของโรค
2.รักษาโรคแทรกซ้อน
ท้องมานและบวมหลังเท้า แนะนำให้ลดอาหารเค็ม และจะให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดบวม
คันตามผิวหนัง ให้ลดอาหารพวกโปรตีน และให้ยาแก้แพ้
ลดของเสีย แพทย์จะให้ยาระบายเพื่อลดของเสียที่อยู่ในลำไส้ซึ่งจะถูกดูดซึมหากมีมากในลำไส้
ผู้ป่วยที่มีความดันในตับสูงแพทย์จะให้ยาลดความดันกลุ่ม beta-block เช่น propanolol

การดูแลรักษา

1. กรณีเป็นโรคชนิดเฉียบพลัน ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ให้ผู้ป่วยพักผ่อนประมาณ 4 สัปดาห์ งดออกกำลังกายหลังหายป่วยแล้ว 2-3 เดือน หลีกเลี่ยงอาหารและการกินสารที่เป็นพิษต่อตับ และรักษาโรคตามอาการ
2. กรณีมีภาวะแทรกซ้อน แพทย์จะพิจารณารักษาเป็นรายๆ ไป
3. ผู้ปว่ยโรคตับอักเสบเรื้อรัง ให้รักษาตามอาการ อยู่ในความดูแลของแพทย์
4. ผู้เป็นพาหนะเรื้อรังไม่มีอาการ ให้ตรวจร่างกายเป็นประจำตามแพทย์สั่ง แนะนำให้นำบุตรหลาน และผู้ใกล้ชิดมาตรวจร่างกาย และฉีดวัคซีนป้องกันก่อนเป็นโรคนี้ ผู้เป็นพาหนะห้ามมิให้ใช้ของส่วนตัวที่อาจเปื้อนเลือดร่วมกับผู้อื่น และควรแจ้งทันตแพทย์ แพทย์และบุคลาการทางการแพทย์ให้ทราบเพื่อจะได้ระมัดระวังการติดต่อแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น และเลี่ยงในการสั่งยาที่จะเป็นพิษต่อตับ

การป้องกัน

1. บุคคลทั่วไป ป้องกันตนเองมิให้ติดโรคนี้ได้โดย ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ป่วย ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ตรวจเลือด หากไม่มีภูมิคุ้มกันให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรค
2. ทารกแรกเกิด ที่มารดาเป็นโรคหรือเป็นพาหนะ ให้ฉีดวัคซีนหลังคลอดโดยเร็วที่สุด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น